|
อาชีพของประชากรในเขตชุมชนตำบลบัวใหญ่
|
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก (ทำนา ทำไร่ ทำสวน) โดยพื้นที่ทำนาและทำการเกษตรเป็นพื้นที่ต้องอาศัยน้ำฝน จึงทำนาได้ปีละ 1 ครั้ง พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเพาะปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าวดอกมะลิ 105 และพันธุ์พื้นเมือง รองลงมาเป็นการเพาะปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง นอกนั้น เป็นการปลูกผลไม้และพืชสวนบ้าง สำหรับสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการจำหน่าย ได้แก่ ไก้พื้นบ้าน ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ โคเนื้อ เป็นต้น ครัวเรือนส่วนใหญ่มีรถไถเดินตามเป็นของตนเอง มีบางรายที่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยหรือเช่านาทำจะต้องจ้างเพื่อนบ้านหรือญาติพี่น้องไถให้ ในอัตรา ไร่ละ 250 บาท ส่วนค่าแรงในการประกอบอาชีพการเกษตร ค่าแรงวันละ 120 – 150 บาท/คน/วัน และเมื่อเกษตรกรว่าง จากการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งหรือหลังฤดูการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เกษตรกรส่าวนใหญ่จะหันไปประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป
|
|
หน่วยธุรกิจในเขตตำบลบัวใหญ่
|
|
ปั้มน้ำมันและก๊าซ |
จำนวน |
1
|
แห่ง |
|
โรงงานอุตสาหกรรม |
จำนวน |
-
|
แห่ง |
|
โรงสี (หมู่บ้าน) |
จำนวน |
7
|
แห่ง |
|
ธนาคาร |
จำนวน |
-
|
แห่ง |
|
โรงแรม |
จำนวน |
-
|
แห่ง |
|
โรงฆ่าสัตว์ |
จำนวน |
-
|
แห่ง |
|
ตลาดสด |
จำนวน |
|
แห่ง |
|
กิจการพาณิชย์ของ อบต. |
จำนวน |
-
|
แห่ง |
|
|
การใช้ที่ดิน
|
ตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ของตำบลบัวใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นที่นาซึ่งสามารถทำนาได้ปีละครั้ง นอกนั้นเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอื่นๆ เช่น ปลูกอ้อย ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น และการปลูกพืชผักต่างๆ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำ จัดเป็นพวกดินเค็มเหมาะสำหรับปลูกข้าวในฤดูฝน แต่มักเสี่ยงต่อความล้มเหลว ถ้าปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยการชลประทานเพื่อให้มีน้ำในการปลูกข้าวและการใช้ปุ๋ยบำรุงดิน
|
|
แหล่งสินเชื่อเพื่อการเกษตร
|
|
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) |
ร้อยละ |
40 |
|
|
สหกรณ์การเกษตรบัวใหญ่ จำกัด |
ร้อยละ |
20 |
|
|
กองทุนหมู่บ้าน |
ร้อยละ |
15 |
|
|
ธนาคารพาณิชย์ |
ร้อยละ |
10 |
|
|
นายทุน |
ร้อยละ |
10 |
|
|
ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน |
ร้อยละ |
5 |
|
|
|
ข้อมูลทางการตลาด ในการประกอบอาชีพการเกษตร
|
1.ข้าว เกษตรกรจะนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น โรงสีข้าวเอกชน อีกส่วนหนึ่งจำนำข้าวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อรอราคาสูงขึ้น |
2.พืชผัก จะมีพ่อค้ามารับซื้อในหมู่บ้าน บางส่วนจะนำไปจำหน่ายเอง ในเขตตลาด ร้านค้าในหมู่บ้านและตำบล |
3.ไม้ผล เกษตรกรจะนำไปจำหน่ายที่ร้านค้าในหมู่บ้านและตำบล และที่ตลาด |
|
ข้อมูลทางการตลาดเกี่ยวกับปศุสัตว์
|
1.โคเนื้อ มีพ่อค้ามารับซื้อ และจำนำไปขายที่ตลาดโค กระบือ |
2.โคนม จะนำผลผลิตไปส่งที่สหกรณ์การเกษตรอำเภอ |
3.ไก่พื้นเมือง มีพ่อค้ามารับซื้อ และเกษตรกรนำไปจำหน่ายที่ตลาดบัวขาว ซึ่งเป็นตลาดสดประจำอำเภอ |
4.การประมง(การจำหน่ายสัตว์น้ำ) มีพ่อค้ามารับซื้อ และเกษตรกรนำไปจำหน่ายที่ตลาดบัวขาว ซึ่งเป็นตลาดสดประจำอำเภอ |
|